ชื่อไทย : สารภี
ชื่อท้องถิ่น : ทรพี(จันทบุรี)/ สร้อยพี(ใต้)/ สารภีแนน(เชียงใหม่,เหนือ) 
ชื่อสามัญ :
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Mammea siamensis Kosterm.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
ลักษณะวิสัย : ไม้ยืนต้น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10-15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ทึบ เปลือกสีเทาปนดำ แตกล่อนเป็นสะเก็ดตลอดลำต้น มียางสีขาวและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน
ใบ :
เดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปไข่กลับแกมรูปขอบขนาน กว้าง 4-6.5 ซม. ยาว 14-20 ซม. ปลายใบมนหรือหยักเว้าตื้นๆ โคนใบสอบเรียว ผิวใบเกลี้ยง สีเขียวเข้มเป็นมัน แผ่นใบหนาคล้ายหนัง ขอบใบเรียบมีเส้นใบย่อยแบบร่างแหชัดทั้งสองด้านเมื่อใบแห้ง ก้านใบยาว 0.5-1.5 ซม.
ดอก :
สีขาว ออกเป็นดอกเดี่ยวหรือช่อแบบช่อกระจุกตามกิ่ง ดอกย่อย 7 – 9 ดอก ดอกแยกเพศแยกต้น ดอกบานเต็มที่กว้าง 0.7-1 ซม. มีกลีบเลี้ยง 2 กลีบ กลีบดอก 4 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก อับเรณูสีเหลือง ดอกเพศเมีย รังไข่เหนือวงกลีบ ยอดเกสรเพศเมียมี 2 แฉก รังไข่มี 2 ช่อง มีกลิ่นหอม
ผล :
แบบผลผนังชั้นในแข็งมีเนื้อเมล็ดเดียว รูปกระสวย โคนและปลายแหลม ยาว 3 ซม. ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเหลือง เนื้อผลนิ่ม มีรสหวานอ่อนๆ เมล็ด รูปขอบขนาน มี 1 เมล็ด
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : มกราคม สิ้นสุดระยะติดดอก : มีนาคม
เริ่มติดผล : มีนาคม สิ้นสุดระยะติดผล : พฤษภาคม

สภาพทางนิเวศวิทยา :

นิเวศวิทยา พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ และป่าดิบแล้งภาคเหนือภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 20 400 เมตร

ถิ่นกำเนิด

การกระจายพันธุ์ พบในอินเดีย กัมพูชา ลาว เวียดนาม คาบสมุทรมลายู

การใช้งานด้านภูมิทัศน์ ปลูกให้ร่มเงาในบ้าน ได้ดีเพราะพุ่มใบสวย ดอกหอม ผลเป็นอาหารของนกได้

การปลูกและการขยายพันธุ์ :

สภาพดินร่วนซุย ความชื้นพอเหมาะ

โดยการเพาะเมล็ด

รายละเอียดการใช้ประโยชน์ :

ดอกตูมใช้ย้อมไหมให้สีแดง ดอกมีสารช่วยขยายหลอดเลือด ขับลม บำรุงหัวใจและแก้ไข้

- ดอก มีรสขมหอมเย็น บำรุงหัวใจ บำรุงกำลัง แก้โลหิตพิการ แก้ไข้มีพิษร้อน ทำให้เจริญอาหาร บำรุงหัวใจ ชูกำลัง มีฤทธิ์ขับลม และฝาดสมาน รักษาธาตุไม่ปกติ ยาไทยใช้ดอกสารภีผสมยาหอม แก้ลม เจริญอาหาร บำรุงหัวใจ แก้โลหิตพิการ แก้ไข้ มีพิษร้อน

- เกสร มีรสหอมเย็น จัดอยู่ในเกสรทั้งห้า บำรุงครรภ์รักษา ทำให้ชื่นใจ แก้ไข้ [1]

- เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง
- ผลมีรสหวานรับประทานได้
- ดอกมีรสหอมเย็น ใช้เข้ายาบำรุงหัวใจ แก้ไข้ ขับลม
[2]
- ผลสุกรับประทานได้ เป็นอาหารของสัตว์
- ปลูกเป็นไม้ประดับเนื่องจากดอกหอม
- ดอกแห้งปรุงเป็นยาหอม
- เนื้อไม้มีคุณภาพดี ใช้งานง่าย ทำเฟอร์นิเจอร์ งานแกะสลัก งานก่อสร้างต่างๆ ทำเสา พื้น ฝา
- ผลแห้งผสมกับดอกไม้ชนิดอื่นใช้บำรุงหัวใจ
- ดอกปรุงเป็นยาแก้ร้อนใน เข้ายาแก้ลม บำรุงปอด
[3]
- ดอกตูมใช้ย้อมไหมให้สีแดง
- ดอกมีสารช่วยขยายหลอดเลือด ขับลม บำรุงหัวใจและแก้ไข้
[4]

แหล่งอ้างอิง : [1] คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพรพืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. Herbal Garden in Royal Flora Expo 2006. บริษัท สามเจริญพาณิชย์(กรุงเทพฯ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [2] คณะผู้ดำเนินงานโครงการให้ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์แก่บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2553ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. [3] มูลนิธิสวนหลวง ร. ๙. 2547. ไม้นามตามถิ่น. พิมพ์ครั้งที่ 1. อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [4] เอื้อมพร วีสมหมาย และปณิธาน แก้วดวงเทียน. 2552. ไม้ป่ายืนต้นของไทย 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอช เอ็น กรุ๊ป จำกัด. กรุงเทพมหานคร. [5] ต้นไม้และดอกไม้ประจำจังหวัด http://www.panmai.com/ 23082553
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
ไม้ยืนต้น
พืชสมุนไพร
ที่อยู่ :
หมายเหตุ : ต้นไม้ประจำจังหวัดพะเยา
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554